วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความหมายและความสำคัญของQCC

หมายถึง การควบคุมคุณภาพด้วยกิจกรรมกลุ่มการควบคุมคุณภาพ คือ การบริหารงานด้านวัตถุดิบ ขบวนการผลิตและผลผลิต ให้ได้คุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องหรือข้อกำหนดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายป้องกันและลดปัญหาการสูญเสียทั้งวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต เวลาการทำงาน
และผลผลิตกิจกรรมกลุ่ม คือ ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน หรือสร้างผลงานตามเป้าหมายซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน วิธีการทำงาน เครื่องจักร
เครื่องใช้ ระเบียบกฏเกณฑ์ และอื่นๆกิจกรรม QCC คือ กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการค้นหจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งความหมายของ Q.C.C.
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า Q.C.C. มาจากภาษาอังกฤษว่า Quality Conlity Circle ซึ่งแปลว่า การบริหารโดยการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันนี้ องค์การธุรกิจเอกชนต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก คำว่า คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติหรือลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้บริการ การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานต่าง ๆ ในระหว่างการผลิตที่ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ป้องกันไม่ให้การทำงานผิดไปจากกำหนด หาทางลดปริมาณของเสีย เพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลา กลุ่มสร้างคุณภาพ หมายถึง กลุ่มคนเหมาะสมขนาดเหมาะสมที่ทำงานอย่างเดียวเกี่ยวข้องกัน รวมตัวอย่างอิสระ เพื่อร่วมมือละช่วยกันปรับปรุงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
กล้าหาญ วรพุทธพร ( 2525 : 18 ) ได้ให้คำจำกัดความของ Q.C.C. อย่างสั้น ๆ ว่า คนกลุ่มน้อย ณ สถานที่ปฏิบัติงานเดียวกันรวมตัวกันโดยสมัครใจ โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับต้น ( First Line Supervisor ) เป็นแกนกลางเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงงาน โดยตนเองอย่างเป็นอิสระ
แต่ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ นภดล เชนะโยธิน (2531 : 188 ) กล่าวโดยสรุปว่า การบริหารโดยระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาและควบคุมคุณภาพด้วยกลุ่ม ฉะนั้น การบริหารโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ หมายถึง กิจการร่วมกันของ กลุ่มพนักงานรวมตัวกัน โดยสมัครใจ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ กิจกรรมของ Q.C.C.
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิจกรรมที่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- การเพิ่มผลผลิต
- การลดจำนวนของเสียของผลิตภัณฑ์
- การลดจำนวนของลูกค้าที่ส่งคืน เนื่องจากผลผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ
- การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง
2. กิจกรรมที่มาสามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- ทำให้ความร่วมมือของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น
- ลดความขัดแย้งในการทำงานลง

ประโยชน์ของกิจกรรมQCC


ประโยชน์ของกิจกรรม Q.C.C.
ถ้าการดำเนินงานของ Q.C.C. ถูกต้องและดำเนินการอย่างจริงจัง จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์การ ได้ 2 ทาง คือ ทางตรง ได้แก่
- ช่วยให้ต้นทุนลดลง
- คุณภาพสูงขึ้น
- ประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น
ทางอ้อม ได้แก่
- ความสามารถในการทำความเข้าใจเรื่องต่างง ๆ สูงขึ้น
- มนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้น
- ความรู้ทางเทคนิคสูงขึ้น
- การปรับปรุงงานสูงขึ้น
- ขวัญและกำลังใจดีขึ้น

หลักการสำคัญของQCC

หลักการที่สำคัญในการนำกิจกรรมกลุ่มควบคุณภาพมาพัฒนา ในด้านการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันนี้ ก็เนื่อง จากแนวความคิดในการบริหารสมัยใหม่ ต้องการให้พนักงานในระดับหัวหน้าและพนักงานทั่วไปมีความสำนึก 4 ประการ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ( Participated by Every - one )
2. การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ ( Teamwork Consciousness )
3. การรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ( Problem Consciousness
4. การรู้จักปรับปรุงด้วยตนเอง ( Improvement Consciousness
ฉะนั้น การบริหารงานโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ นอกจากให้สมาชิกที่ร่วมกลุ่มได้มีจิต สำนึกใน 4 ประการ ข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยหลักการของวัฏจักรเคมิ่ง ( Deming Cycle )ในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. การวางแผน ( Plan : P )
2. การปฏิบัติ ( Do : D ))
3. การตรวจสอบ ( Check : C )
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )

แนวความคิดพื้นฐานของ QCC

ในการนำกิจกรรมของ Q.C.C. มาใช้ในวงการธุรกิจในสมัยปัจจุบันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐานดังนี้ ( ลีลา สินานุเคราะห์ 2530 : 40 )
1. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ
2. เพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศในองค์การให้แจ่มใส
3. เพื่อดึงความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ในบุคคล ออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ จนถึงขีดสูงสุดแห่งความสามารถที่เขามีอยู่

ขั้นตอนวิธีการทำกิจกรรม QCC

1.แนะนำองค์กร
- ชื่อองค์กร
- ที่ตั้ง
- ประเภทกิจการ หรือรายละเอียดของกิจการแบบย่อ
2. แนะนำกลุ่มและสายงาน ในการทำกิจกรรม QCC
- ชื่อ กลุ่ม
- คำขวัญ
- รายชื่อสมาชิก และตำแหน่งในกลุ่ม
- อายุสมาชิกเฉลี่ย
- อายุงานเฉลี่ย และทำแผนผังสายงาน ในองค์กรที่สมาชิกสังกัดอยู่
3. ค้นหาปัญหา
ทำการระดมความคิดจากสมาชิกในกลุ่ม เพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือในหน่วยงานที่เราทำอยู่ โดยเลือกปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตหรือคุณภาพ เพื่อนำมาทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.หาข้อมูลทางสถิติ
เมื่อเราได้ปัญหาจากหัวข้อที่ 3 แล้ว ต่อมาก็ให้เราทำการเก็บข้อมูลปัญหาที่เราเลือกมาว่ามีความถี่ในการเกิดขึ้นของในแต่ละปัญหามากน้อยแค่ไหน โดยจะจดบันทึกเป็นตัวเงิน หรือเวลาก็ได้ ( บาท หรือ ซ.ม. ) โดยระยะเวลาในการเก็บข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และหลังจากนั้นก็ให้เรานำมาเขียนเป็นกราฟ
5. นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์รายระเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลที่ได้จากข้อที่ 4 และกลุ่มเลือกจะนำมาทำการแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก มาทำการวิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติม โดยจะทำการวิเคราะห์รายละเอียดของปัญหาดังกล่าวว่าเกิดมาจะสาเหตุ ย่อยๆอะไรบ้าง แล้วนำปัญหาดังกล่าวมาทำเป็นตารางและทำการเก็บข้อมูลทางสถิติ และหลังจากได้ข้อมูลแล้วก็ให้เราทำการเขียน แผนภูมิพาราโตก่อนการแก้ไข
6. ปัญหาที่เลือก เหตุจูงใจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน
สาเหตุที่นำมาทำกิจกรรม QCC :
เหตุจูงใจ :1. เพราะว่า
2. เพราะว่า
3.เพราะว่า
เป้าหมายลดปัญหา : %
แผนการดำเนินงาน
7. สำรวจปัญหา 1
ทำการเขียนแผนภูมิก้างปลา เพื่อทำการสำรวจหาปัญหา โดยใช้หลักการ 4 M คือ1.คน 2.เครื่องจักร 3.วัสดุอุปกรณ์ 4.วิธีการทำงาน
โดยให้สมาชิกในกลุ่มระดมความคิดว่าจากปัญหาที่เราเลือกมาทำการแก้ปัญหามีรายละเอียดของสาเหตุจากไหนบ้าง
- สาเหตุที่เกิดจากคนมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุเกิดจากเครื่องจักรมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุที่เกิดจากวัสดุอุปกรณ์มีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากวิธีการทำงานมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
เมื่อเราได้ต้นเหตุของปัญหาแล้ว ก็ให้เรานำปัญหาทั้งมาทำการเขียนเป็นแผนภูมิก้างปลา โดยหัวปลาเราจะใส่ปัญหาที่เราทำกิจกรรม
8. สำรวจสภาพปัญหา 2
เมื่อเราได้ปัญหาทั้งหมดจากข้อ 7.แล้ว ก็นำมาทำการเก็บข้อมูลทางสถิติอีกครั้งหนึ่ง โดยการสร้างเป็นตารางปัญหาคือ
1.ปัญหาจากคน
2. ปัญหาจากเครื่องจักร
3. ปัญหาวัสดุอุปกรณ์
4. ปัญหาจากวิธีการทำงาน
โดยข้อมูลทั้งหมดจะนับเป็นจำนวนความถี่ที่เกิดขึ้น
9. แผนงานการแก้ไข
เมื่อเราทำการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็ทำแผนการแก้ไข โดยแยกเป็นหมวดหมู่ เช่นปัญหาที่เกิดจากคนมีอะไรบ้าง วิธีการแก้ไข ผู้ดำเนินการระยะเวลาดำเนินการโดยแผนการแก้ไขทั้งหมดเราจะทำในรูปแบบ ตารางแผนงานการแก้ไข
10. สรุปผลเปรียบเทียบการดำเนินงาน
หลังจากทำการแก้ไขตามแผนงานที่เราว่างไว้แล้วต่อมาเราก็จะมาทำการเก็บข้อมูลเพื่อทำการเปรียบเทียบ ก่อนทำ กับหลังทำ โดยใช้ตาราง เดียวกันในหัวข้อที่ 5 เพื่อทำการเก็บข้อมูล แล้วนำมาคำณวนเป็นเปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเราก็จะทำการเขียนกราฟแผนภูมิพาราโต เพื่อทำการเปรียบเทียบก่อนทำกับหลังทำ
11.กำหนดมาตรฐานและแผนติดตามผล
หลังจากที่เราได้ทำการกิจกรรม QCC และได้ผลออกมาเป็นที่สำเร็จแล้วต่อมาเราควรนำวิธีการทำงานแบบใหม่ที่เราได้ทำการแก้ไขแล้วมาเขียนเป็นมาตรฐานการทำงาน เพื่อที่คนอื่นจะได้ปฏิบัติตามพร้อมทั้งยังต้องทำแผนการติดตามมาตรฐานการทำงานใหม่ที่เราได้กำหนดขึ้นว่ามีความถูกต้อง และปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า
12.สรุปผลการดำเนินงาน
- เป้าหมายหลัก :…………….. %
- ผลการดำเนินงาน: ………………%
- ผลส่วนแตกต่าง ………………….%
- สรุปผลจากการดำเนินงานที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
- ผลกระทบและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
- ปัญหาที่พบใหม่
13.แผนการดำเนินการต่อไป
หลังจากที่เราทำการแก้ปัญหาที่เราเลือกมาเป็นที่เรียบร้อยต่อไปเราก็ควรจะมีแผนการแก้ปัญหาอื่นๆต่อ นั้นก็คือปัญหาในอันดับรองลงมาที่เรายังไม่ได้ทำการแก้ปัญหา

กระบวนการของQCC

การจัดทำกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม ย่อมจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อองค์การอย่างมากมาย ซึ่งขั้นตอนในการทำกิจกรรม Q.C.C. มีดังนี้
1. การจัดตั้งกลุ่มเลือกผู้นำและสร้างแรงจูงใจ หมายถึง การจัดตั้งกลุ่มของพนักงานในหน่วยงานเดียวกัน (3-10 คน ) รวมตัวกันอย่างอิสระโดยความสมัครใจพร้อมทั้งเลือกผู้นำของกลุ่มและสร้างบรรยากาศให้สมาชิกได้ทำงานร่วมกัน
2. การชี้แจงวีทำกิจกรรมหรือเครื่องมือต่าง ๆ เป็นการตั้งกติกาการทำงาน การนัดหมาย ประชุม รวมทั้ง การชี้แจงรายละเอียดในการทำกิจกรรม และวิธีใช้เทคนิคหรือเครื่องมือต่าง ๆ
3. การเลือกหัวข้อปัญหาเพื่อทำกิจกรรม พร้อมทั้งเป้าหมายและตั้งสมมุติฐานการแก้ปัญหา การเลือกหัวข้อปัญญานี้ ต้องเป็นปัญหาที่ทุกคนในกลุ่มนั้นเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ปัญหาต้องสอดคล้องกับ นโยบายของบริษัทและการตั้งเป้าหมายต้องสามารถบอกเป็นตัวเลข เพื่อเปรียบเทียบกับผลก่อนลงมือทำกิจกรรมนั้นได้
4. การลงมือปฏิบัติตามแผน เป็นการที่สมาชิกในกลุ่มได้ปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ
5. การประมาณผลงานเมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมแล้ว ก็ต้องทำการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยคำนึงถึง เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ
6. การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติกิจกรรมหลังจากที่ได้ประเมินผลแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การจัดทำมาตรฐาน ของการปฏิบัติกิจกรรมไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้น
7. การจัดรายงานผลและเนอผลงาน เป็นการที่จัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างQCC

ในสายการผลิต ซึ่งเป็นรูปแบบของการบริหารสายการผลิตที่แตกต่างออกไปรูปแบบดั้งเดิม กล่าวคือ การบริหารสายการผลิตแบบเดิมมักเป็นไปในลักษณะของการบังคับบัญชาเป็นลำดับขั้น (Hierarchical Style) ดังรูปที่ 1 ซึ่งมีผู้จัดการฝ่ายผลิตแสดงบทบาทผู้บัญชาการ (Command Master) มีหัวหน้างานผลิตทำหน้าที่กำกับดูแลสายการผลิตและรายงานตรงต่อ
ผู้จัดการฝ่ายผลิตสำหรับสายการผลิตขนาดใหญ่ก็มักจะมีโฟร์แมนทำหน้าติดตามความคืบหน้าของงานและรายงานตรงต่อหัวหน้างานผลิต และมีคนงานหรือพนักงานผลิตทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมผลิตประจำวัน ลักษณะเด่นของการบริหารในรูปแบบดังกล่าวนี้อยู่ที่การมอบอำนาจตัดสินใจไว้ที่ตัวบุคคล ซึ่งขอบเขตการตัดสินใจจะมากน้อยจะขึ้นอยู่กับลำดับการบังคับบัญชา
ส่วนการบริหารสายการผลิตโดยใช้กลุ่มงาน QCC มีลักษณะที่แตกต่างออกไป ดังแสดงในภาพที่ 2 ซึ่งในกรณีนี้ ผู้จัดการฝ่ายผลิตจะแสดงบทบาทเสมือนผู้สนับสนุนกิจกรรม (Sponsor) คอยรับฟังปัญหา วางกลยุทธ์ และสนับสนุนทรัพยากร ส่วนในสายการผลิตจะมีกลุ่ม QCC รับผิดชอบการบริหาร ภายในกลุ่ม QCC อาจประกอบด้วยหัวหน้างานผลิต โฟร์แมน และตัวแทนคนงาน
ซึ่งสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมในการเสนอความคิดเห็น ร่วมวางแผน ตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน รวมถึงการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต ในกรณีเช่นนี้หัวหน้าสายการผลิตจะแสดงบทบาทเป็นผู้ฝึกสอน (Coach) และผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และเป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างกลุ่มกับผู้จัดการฝ่ายผลิต และการสื่อสารกับกลุ่มงานอื่น ๆ กลุ่ม QCC ของสายการผลิตจะมีอิสระในการตัดสินใจสูงขึ้น และมีอำนาจในบริหารสายการผลิตของตนเองมากขึ้นด้วย จึงสามารถพิจารณาว่าเป็นกลุ่มงานแบบ Self Directed Team ซึ่งจะสนับสนุนให้การบริหารสายการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้