ในสายการผลิต ซึ่งเป็นรูปแบบของการบริหารสายการผลิตที่แตกต่างออกไปรูปแบบดั้งเดิม กล่าวคือ การบริหารสายการผลิตแบบเดิมมักเป็นไปในลักษณะของการบังคับบัญชาเป็นลำดับขั้น (Hierarchical Style) ดังรูปที่ 1 ซึ่งมีผู้จัดการฝ่ายผลิตแสดงบทบาทผู้บัญชาการ (Command Master) มีหัวหน้างานผลิตทำหน้าที่กำกับดูแลสายการผลิตและรายงานตรงต่อ
ผู้จัดการฝ่ายผลิตสำหรับสายการผลิตขนาดใหญ่ก็มักจะมีโฟร์แมนทำหน้าติดตามความคืบหน้าของงานและรายงานตรงต่อหัวหน้างานผลิต และมีคนงานหรือพนักงานผลิตทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมผลิตประจำวัน ลักษณะเด่นของการบริหารในรูปแบบดังกล่าวนี้อยู่ที่การมอบอำนาจตัดสินใจไว้ที่ตัวบุคคล ซึ่งขอบเขตการตัดสินใจจะมากน้อยจะขึ้นอยู่กับลำดับการบังคับบัญชา
ส่วนการบริหารสายการผลิตโดยใช้กลุ่มงาน QCC มีลักษณะที่แตกต่างออกไป ดังแสดงในภาพที่ 2 ซึ่งในกรณีนี้ ผู้จัดการฝ่ายผลิตจะแสดงบทบาทเสมือนผู้สนับสนุนกิจกรรม (Sponsor) คอยรับฟังปัญหา วางกลยุทธ์ และสนับสนุนทรัพยากร ส่วนในสายการผลิตจะมีกลุ่ม QCC รับผิดชอบการบริหาร ภายในกลุ่ม QCC อาจประกอบด้วยหัวหน้างานผลิต โฟร์แมน และตัวแทนคนงาน
ซึ่งสมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมในการเสนอความคิดเห็น ร่วมวางแผน ตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน รวมถึงการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต ในกรณีเช่นนี้หัวหน้าสายการผลิตจะแสดงบทบาทเป็นผู้ฝึกสอน (Coach) และผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และเป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างกลุ่มกับผู้จัดการฝ่ายผลิต และการสื่อสารกับกลุ่มงานอื่น ๆ กลุ่ม QCC ของสายการผลิตจะมีอิสระในการตัดสินใจสูงขึ้น และมีอำนาจในบริหารสายการผลิตของตนเองมากขึ้นด้วย จึงสามารถพิจารณาว่าเป็นกลุ่มงานแบบ Self Directed Team ซึ่งจะสนับสนุนให้การบริหารสายการผลิตมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น