วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขั้นตอนวิธีการทำกิจกรรม QCC

1.แนะนำองค์กร
- ชื่อองค์กร
- ที่ตั้ง
- ประเภทกิจการ หรือรายละเอียดของกิจการแบบย่อ
2. แนะนำกลุ่มและสายงาน ในการทำกิจกรรม QCC
- ชื่อ กลุ่ม
- คำขวัญ
- รายชื่อสมาชิก และตำแหน่งในกลุ่ม
- อายุสมาชิกเฉลี่ย
- อายุงานเฉลี่ย และทำแผนผังสายงาน ในองค์กรที่สมาชิกสังกัดอยู่
3. ค้นหาปัญหา
ทำการระดมความคิดจากสมาชิกในกลุ่ม เพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร หรือในหน่วยงานที่เราทำอยู่ โดยเลือกปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตหรือคุณภาพ เพื่อนำมาทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.หาข้อมูลทางสถิติ
เมื่อเราได้ปัญหาจากหัวข้อที่ 3 แล้ว ต่อมาก็ให้เราทำการเก็บข้อมูลปัญหาที่เราเลือกมาว่ามีความถี่ในการเกิดขึ้นของในแต่ละปัญหามากน้อยแค่ไหน โดยจะจดบันทึกเป็นตัวเงิน หรือเวลาก็ได้ ( บาท หรือ ซ.ม. ) โดยระยะเวลาในการเก็บข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และหลังจากนั้นก็ให้เรานำมาเขียนเป็นกราฟ
5. นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์รายระเอียดเพิ่มเติม
ข้อมูลที่ได้จากข้อที่ 4 และกลุ่มเลือกจะนำมาทำการแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก มาทำการวิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติม โดยจะทำการวิเคราะห์รายละเอียดของปัญหาดังกล่าวว่าเกิดมาจะสาเหตุ ย่อยๆอะไรบ้าง แล้วนำปัญหาดังกล่าวมาทำเป็นตารางและทำการเก็บข้อมูลทางสถิติ และหลังจากได้ข้อมูลแล้วก็ให้เราทำการเขียน แผนภูมิพาราโตก่อนการแก้ไข
6. ปัญหาที่เลือก เหตุจูงใจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน
สาเหตุที่นำมาทำกิจกรรม QCC :
เหตุจูงใจ :1. เพราะว่า
2. เพราะว่า
3.เพราะว่า
เป้าหมายลดปัญหา : %
แผนการดำเนินงาน
7. สำรวจปัญหา 1
ทำการเขียนแผนภูมิก้างปลา เพื่อทำการสำรวจหาปัญหา โดยใช้หลักการ 4 M คือ1.คน 2.เครื่องจักร 3.วัสดุอุปกรณ์ 4.วิธีการทำงาน
โดยให้สมาชิกในกลุ่มระดมความคิดว่าจากปัญหาที่เราเลือกมาทำการแก้ปัญหามีรายละเอียดของสาเหตุจากไหนบ้าง
- สาเหตุที่เกิดจากคนมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุเกิดจากเครื่องจักรมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุที่เกิดจากวัสดุอุปกรณ์มีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
- สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากวิธีการทำงานมีอะไรบ้าง
1.
2.
3.
เมื่อเราได้ต้นเหตุของปัญหาแล้ว ก็ให้เรานำปัญหาทั้งมาทำการเขียนเป็นแผนภูมิก้างปลา โดยหัวปลาเราจะใส่ปัญหาที่เราทำกิจกรรม
8. สำรวจสภาพปัญหา 2
เมื่อเราได้ปัญหาทั้งหมดจากข้อ 7.แล้ว ก็นำมาทำการเก็บข้อมูลทางสถิติอีกครั้งหนึ่ง โดยการสร้างเป็นตารางปัญหาคือ
1.ปัญหาจากคน
2. ปัญหาจากเครื่องจักร
3. ปัญหาวัสดุอุปกรณ์
4. ปัญหาจากวิธีการทำงาน
โดยข้อมูลทั้งหมดจะนับเป็นจำนวนความถี่ที่เกิดขึ้น
9. แผนงานการแก้ไข
เมื่อเราทำการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆเรียบร้อยแล้ว ก็ทำแผนการแก้ไข โดยแยกเป็นหมวดหมู่ เช่นปัญหาที่เกิดจากคนมีอะไรบ้าง วิธีการแก้ไข ผู้ดำเนินการระยะเวลาดำเนินการโดยแผนการแก้ไขทั้งหมดเราจะทำในรูปแบบ ตารางแผนงานการแก้ไข
10. สรุปผลเปรียบเทียบการดำเนินงาน
หลังจากทำการแก้ไขตามแผนงานที่เราว่างไว้แล้วต่อมาเราก็จะมาทำการเก็บข้อมูลเพื่อทำการเปรียบเทียบ ก่อนทำ กับหลังทำ โดยใช้ตาราง เดียวกันในหัวข้อที่ 5 เพื่อทำการเก็บข้อมูล แล้วนำมาคำณวนเป็นเปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเราก็จะทำการเขียนกราฟแผนภูมิพาราโต เพื่อทำการเปรียบเทียบก่อนทำกับหลังทำ
11.กำหนดมาตรฐานและแผนติดตามผล
หลังจากที่เราได้ทำการกิจกรรม QCC และได้ผลออกมาเป็นที่สำเร็จแล้วต่อมาเราควรนำวิธีการทำงานแบบใหม่ที่เราได้ทำการแก้ไขแล้วมาเขียนเป็นมาตรฐานการทำงาน เพื่อที่คนอื่นจะได้ปฏิบัติตามพร้อมทั้งยังต้องทำแผนการติดตามมาตรฐานการทำงานใหม่ที่เราได้กำหนดขึ้นว่ามีความถูกต้อง และปฏิบัติได้จริงหรือเปล่า
12.สรุปผลการดำเนินงาน
- เป้าหมายหลัก :…………….. %
- ผลการดำเนินงาน: ………………%
- ผลส่วนแตกต่าง ………………….%
- สรุปผลจากการดำเนินงานที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
- ผลกระทบและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น
- ปัญหาที่พบใหม่
13.แผนการดำเนินการต่อไป
หลังจากที่เราทำการแก้ปัญหาที่เราเลือกมาเป็นที่เรียบร้อยต่อไปเราก็ควรจะมีแผนการแก้ปัญหาอื่นๆต่อ นั้นก็คือปัญหาในอันดับรองลงมาที่เรายังไม่ได้ทำการแก้ปัญหา

ไม่มีความคิดเห็น: